วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำพลาสติกสาน

วิธีเนินการ

อุปกรณ์
1. เส้นพลาสติก 5 ขีด
2. กรรไกร
3. หูถือกระเป๋า

วิธีการทำ


1. ตัดเส้นพลาสติกยาวกว่ากระเป๋าแบบ 20-30 ซม. จำนวนความกว้าง 11 เส้น จำนวนความยาว 23 เส้น













2. นำเส้นพลาสติกที่ตัดไว้โดยนำ 11 เส้นมาเรียงไว้ (ความกว้างของกระเป๋า)
















3. นำเส้นพลาสติกที่เหลือ 23 เส้น นำมาสานที่ละ
















4. เมื่อนำมาสานครบทั้ง 23 เส้นแล้ว หลังจากนั้นจัดเส้นพลาสติกให้แน่น ไม่ให้มีช่องว่าง
















5. เมื่อจัดเส้นพลาสติกแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลาย โดยขัดเว้นเส้น















6. ขึ้นลายข้างกระเป๋า โดยการสานจะใช้ 3 เส้นในการสาน 1 รอบ
















6.1 ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ 3 เส้นที่ขึ้นลาย
















6.2 สานสลับเส้น
















6.3 เมื่อขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้ว ให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม















6.4 แล้วพับลงมาขัดกับลาย
















7. เมื่อสานเสร็จแล้ว ให้บีบตามขอบของกระเป๋า เพื่อทำให้เป็นทรง
















8. ใส่หูถือกระเป๋า ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย



พลาสติกสานเอนกประสงค์

ชื่อเรื่อง : พลาสติกสานเอนกประสงค์
ผู้เสนอโครงงาน : นายนันทธ์กิจ สุดสายเนตร เลขที่ 10
นางสาวนฤมล เลยไธสง เลขที่ 24
นางสาวเสาวลักษณ์ ทวีรัตน์ เลขที่ 32
นางสาวอรปรียา วรกิจวัฒนา เลขที่ 34
นางสาวอัยลดา สุคนธชาติ เลขที่ 35
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/1
คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน : ครูศิริพร วีระชัยรัตนา

ข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา : การสานพลาสติก
จุดประสงค์ : 1. เพื่อสามารถสานสิ่งของที่ต้องการเองได้
2. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3. เพื่อนำเผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการสานพลาสติก


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในการทำโครงงานนี้ ผู้จัดทำได้จัดทำของใช้จากการสานพลาสติก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวอำเภอห้วยแถลง โดยใช้พลาสติกมาใช้ในกานสานเป็นของใช้ต่างๆ ผู้จัดทำได้ศึกษาวิธีการทำพลาสติกสานนี้จากคนในอำเภอห้วยแถลง คือ นางถนอม คำภริยา แล้วผู้จัดทำได้ร่วมกันสานกระเป๋าจากพลาสติกจนแล้วเสร็จ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ทำเป็นกิจการภายในครอบครัวที่ให้สามชิกภายในครอบครัวช่วยกันสร้างรายได้ให้กับครอบครัวจากการสานพลาสติกนี้ และยังสามารถที่จะใช้ความรู้ในการสานไปสอนผู้อื่นและเผยเเพร่ต่อ ๆ ไปได้ เพื่อเสริมสร้างและบูรณาการให้วิธีการสานดีขึ้นเพื่อเป็นที่ยอมรับต่อผู้ซื้อ และผู้ที่ต้องการผลิต ทั้งนี้การสานเส้นพลาสติกยังสามารถทำเป็นกิจการส่วนตัวได้อีกด้วย

วิธีการดำเนินการ
ศึกษาวิธีการสานพลาสติกจาก นางถนอม คำภริยา ณ อำเภอห้วยแถลง แล้วรวบรวมข้อมูลและขั้นตอนในการสานพลาสติกที่ได้ศึกษามานั้น มานำเสนอใน Gotoknow

สรุปผลการศึกษา
ภูมิปัญญาในการสานพลาสติกนั้นสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้


อภิปราย ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาภูมิปัญญาในการสานพลาสติกนั้น ได้เกิดประโยชน์มากมาย โดยสามารถทำให้เกิดเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และช่วยประหยัดรายจ่ายในครอบครัวได้ และยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองหรือครอบครัวได้อีกด้วย


อกสารอ้างอิง
ได้ศึกษาการทำพลาสติกสานจาก นางถนอม คำภริยา


การประเมินโครงงาน
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ งานกลุ่มมีประโยชน์มีความเป็นจริง ความถูกต้องเนื้อหามีการศึกษาและลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้องและมีแหล่งข้อมูล

ประวัติของผู้ให้คำแนะนำ



ประวัติของผู้ให้คำแนะนำ


ชื่อ นางถนอม คำภริยา อายุ 58 ปี
ที่อยู่ปัจจุบัน 158 หมู่ 5 ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240

ประวัติความเป็นมา

นางถนอม คำภริยา ได้ฝึกสานเส้นพลาสติกมาตั้งแต่สมัยอยู่ จังหวัดอุบลราชธานี และได้ย้ายมาอยู่ที่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะมาประกอบอาชีพภูมิปัญญานี้ ได้ทำอาชีพเป็นแม่บ้านทำความสะอาดในห้างสรรพสินค้า ด้วยค่าใช้จ่ายไม่พอใช้ จึงได้ลาออกจากงาน เพื่อมาสานพลาสติกขาย และทำเป็นอาชีพ อีกทั้งยังเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดอุบลราชธานี และส่งสินค้าต่างจังหวัดอีกด้วย รายได้ประมาณ 7,000-10,000 บาทต่อเดือน




โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอห้วยแถลง

โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอห้วยแถลง
จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พลาสติกสานอเนกประสงค์
เสนอ
คุณครู ศิริพร วีระชัยรัตนา
รหัสวิชา ง.40202
ชื่อวิชา การนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนห้วยแถลงพิททยาคม
อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1. นายนันทธ์กิจ สุดสายเนตร เลขที่ 10
2. นางสาวนฤมล เลยไธสง เลขที่ 24
3. นางสาวเสาวลักษณ์ ทวีรัตน์ เลขที่ 32
4. นางสาวอรปรียา วรกิจวัฒนา เลขที่ 34
5. นางสาวอัยลดา สุคนธชาติ เลขที่ 35
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1